ยินดีต้อนรับ

รหัสนักศึกษา 5411200180 เลขที่1 คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 16


วันศุกร์ ที่ 28  กันยายน 2555


อาจารย์ให้นักศึกษาวิเคราะห์ ของแท็บเล็ตที่ให้เด็กนักเรียนชั้น ป1.ใช้นั้น มีข้อดีข้อเสียหรือมีที่ควรปรับปรุงอย่างไรบ้าง 20นาที  และได้ชี้แจงสิ่งที่นักศึกษาได้เรียนไปทั้งเทอมนี้ว่านักศึกษาได้อะไรในการสอนของอาจารย์บ้าง



จากกรณีมีผู้นำคอมพิวเตอร์พกพาหรือ แท็บเล็ต ที่รัฐบาลแจกให้นักเรียน ป.1 ทั่วประเทศ ตามโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไทย (One Tablet per Child) ไปทดสอบและสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ลามกอนาจารได้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีการระบุว่าแท็บเล็ต ป.1 ทุกเครื่องมีการบล็อกการเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมแล้ว


          ล่าสุด นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว ว่า จากการวิจัยยืนยันมาตลอดว่า เด็กจะใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต แท็บเล็ต เพื่อการเรียนรู้เพียง 20% อีก 80% จะนำไปใช้ผิดประเภทเช่น เล่มเกม ดูเว็บโป๊ ขณะที่ปัจจุบันเด็กส่วนใหญ่ จะอยู่กับอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือเฉลี่ยวันละ 5-6 ชั่วโมง ซึ่งเสี่ยงอันตรายและปูพื้นฐานเด็กหมกมุ่นใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่เหมาะสม ดังนั้นถ้าจะให้เด็กโดยเฉพาะเด็ก ป.1 นำแท็บเล็ตกลับไปบ้านอีกจะยิ่งทำให้เด็กหมกมุ่นและใช้แท็บเล็ตผิดประเภทมาก ขึ้น แทนที่เด็กกลับบ้านจะทำกิจกรรมอื่นๆที่เกิดประโยชน์ เช่น เล่นกีฬา ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวเป็นต้นส่วนที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุว่าการจะให้เด็กนำแท็บเล็ตกลับบ้านได้หรือไม่เป็นดุลยพินิจของผู้บริหาร และครูนั้นว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบถ้ามีอะไรเกิดขึ้น โดยส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วยให้เด็กนำแท็บเล็ตกลับบ้าน


          นายสมพงษ์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ในช่วง 3 เดือนที่แจกแท็บเล็ตไปแล้วจะต้องระมัดระวังเรื่องเครื่องจะมีปัญหา เสียและต้องซ่อม เพราะคุณภาพไม่ค่อยจะดี โดยศธ.ควรที่จะหาสถาบันการศึกษาในพื้นที่อย่างวิทยาลัยอาชีวศึกษา เข้ามาคอยช่วยซ่อมเครื่องให้หากมีปัญหา และหลังจากแจกแท็บเล็ตไปแล้ว 6 เดือน สิ่งที่เป็นห่วงและกังวลมาก คือจะทิ้งห้องเรียน เพื่อไปทำผลงานที่เป็นเอกสาร และปล่อยให้เด็กอยู่กับแท็บเล็ต โดนไม่มีใครคอยชี้แนะหรือชี้นำการใช้แท็บเล็ตในการเรียนรู้ สุดท้ายแท็บเล็ตจะเข้ามาแทนบทบาทของครู

          "ถ้า ศธ.ยังไม่เตรียมตัวป้องกันเรื่องเด็กนำแท็บเล็ตไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ทั้งเรื่องสื่อลามก ดูเว็บโป๊ เล่นเกม นโยบายแจกแท็บเล็ตพังไม่เป็นท่าแน่นอน ช่วง 2-3 ปี ไม่ปฏิรูปการเรียนรู้ เอาเด็กเป็นศูนย์กลางพัฒนาครูและบูรณาการเรียนการสอนเชิงนโยบายให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการศึกษาหรือไม่พยายามทำให้แท็บเล็ตเป็นเครื่องช่วยสอนอย่างที่ บอก 3 ปีจากนี้จะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์แน่นอน" นายสมพงษ์กล่าว





บรรยากาศภายในห้อง

เพื่อนทุกคนตั้งใจวิเคราะห์ งานกันอย่างตั้งใจ และ แอร์เย็นมาก

สิ่งที่ได้รับในการเรียน

ได้เข้าใจจุดประสงค์ในการทำบล็อกมากขึ้นและได้เข้าใจการวิเคราะห์เนื้อหาต่างโดยเทคนิคต่างๆมากขึ้น


วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย

พัฒนาการมีความเปลี่ยนแปลงไปทางด้านปริมาณและคุณภาพ
ได้รับอิทธิพลจากสิ่งสำคัญ คือ
1.องค์ประกอบของพัฒนาการ วุฒิภาวะ การเรียนรู้
2.แบบแผนของพัฒนาการ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ การเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพ
ความสัมพันธ์ของพัฒนาการแต่ละด้าน ลักษณะเด่นของพัฒนาการ
ความคาดหวังของพัฒนาการ ความเสื่อมของพัฒนาการ
3.ลักษณะของพัฒนาการ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา
4.อัตราของพัฒนาการ ความแตกต่างภายในและระหว่างบุคคล

วามสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม
1.ทำให้ทราบลักษณะการเปลี่ยนแปลง
และสามารถประเมินพัฒนาการของเด็กที่เกิดขึ้นในแต่ละวัย
2.ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติ
ของเด็กได้อย่างถูกต้อง
3.ทำให้ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
ตามศักยภาพส่วนบุคคล
4.ทำให้สามารถจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ได้สอดคล้องกับระดับความสามารถ
5.ทำให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาพฤติกรรมของเด็ก
และแนวทางการแก้ไขปัญหา

พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของภาษา
1.ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตที่ต้องติดต่อสร้าง
ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ตนดำรงอยู่
2.ภาษาเป็นกิจกรรมสำคัญในการจัดการเรียนการสอนทั้งในและ
นอกระบบโรงเรียน
3.ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์สามารถแลกเปลี่ยนความรู้
ความคิด เรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อ
4.ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่แต่ละเผ่าชน ชนชาติ
แสดงออกให้เห็น

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 15


วันที่  21 กันยายน  2555
วันนี้อาจารย์ได้ตรวจความเรียบร้อย
และสรุปการเรียนรู้





ความสำคัญของการคิด
ความสำคัญของการคิด ดิวอี้ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการคิดว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเพราะการคิดช่วยให้คนได้ มองเห็นภาพปัญหาต่าง ๆ ในอนาคตซึ่งจะช่วยให้บุคคลได้คิดหาแนวทางในการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้และ การคิดช่วยขยายความหมายของสิ่งต่างๆ ในโลกได้ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการคิดคือ คนจะมีการปฏิบัติหรือการกระทำตามที่เขาคิดถึงแม้ว่ามันจะถูกหรือผิดก็ตาม เนื่องจากการคิดมีพลังอำนาจ จึงต้องการการควบคุมโดยได้แนะนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการช่วยรักษาความคิด ให้เป็นไปอย่างถูกต้องโดยมีการควบคุมเงื่อนไขภายใต้การสังเกต และการสรุปความคิดตามสิ่งที่เกิดขึ้นและได้มีการทบทวนแนวคิดโดยกล่าวว่า สิ่งที่บุคคลรู้จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดครั้งแรกแล้วจึงนำ ไปสู่การคิดในสิ่งอื่นๆซึ่งก่อให้เกิดความสมบูรณ์ของกระบวนการคิดนั้น เนื่องจากการคิดมีอิทธิพลอย่างมากจากกิเลสที่อยู่ภายในตัวบุคคล และสังคม

บรรยากาศในห้อง

เพื่อนมาเรียนน้อยเนื่องจากฝนตก

สิ่งที่ได้รับจากการเรียน

ได้เข้าใจในการทำงนของตัวเองมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 14


 อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มที่ออกมาร้องเพลงยังไม่ครบให้ออกมาร้องโดยเริ่มจาก


กลุ่มที่1 เพลง แปรงฟันกันเถอะ

กลุ่มที่2 เพลงเชิญมาเล่น

กลุ่มที่3 เพลงท้องฟ้าแสนงาม

กลุ่มที่4 เพลง เดิน เดิน เดิน

กลุ่มที่5 เพลงเด็กจอมพลั5

กลุ่มของข้าพเจ้าได้เพลง เดิน  เดิน  เดิน

การเล่านิทานเทคนิคต่างๆ




 เล่าไปฉีกไป

-เรื่องช้างมีน้ำใจ
  
-เจ้าแกะกับดวงอาทิตย์

-กบน้อยแสนซน


เล่าไปวาดไป


-ดาวเคราะห์ของคุณยาย

-ครอบครัวเศรฐกิจพอเพียง

-ตุ้งแช่จอมซน

-ความสุขของคุณยาย

-พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง


เล่าไปพับไป


-เจ้าแสนซน

-ต้นไม้ของเรา

-น้องมดอยากไปเที่ยวทะเล

-แพวิเศษ

-ยักษ์สองตน


เล่าไปตัดไป


-วันหยุดของน้องเบส

-พระจันทร์ไม่มีเพื่อน


เล่าโดยใช้เชื่อก


-กระต่ายน้อยเพื่อนเกลอ

-โจรใจร้าย

-เจ้างูน้อยกับเถาวัลย์




กลุ่มของดิฉันได้ เล่าไป วาดไป เรื่องดาวเคราะห์ของคุณยาย







ดาวเคราะห์ของคุณยาย

บรรยากาศในห้องเรียน

เพื่อนตั้งใจฟังเพลงที่เพื่อนร้องและอาจารย์ได้อัดVDOเก็บไว้ทำให้เพื่อนเงียบตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอ

สิ่งที่ได้รับจากการเรียน

ได้พัฒนาตนเองในการนำเสนองานหน้าชั้นและพัฒนาการเทคนิคการเล่านิทานมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 13

วันที่  7  กันยายน  2555


อาจารย์แจกแผ่นเขียนอักษรกับสีไม้







อาจารย์ได้สรุปการเรียน  จากการสัมภาษและวิเคราะห์ทางภาษาของเด็ก
สื่อที่ส่งเสริมทางภาษาสำหรับเด็กได้แก่


-นิทาน
-เพลง
-คำคร้องจอง
-ปริศนาคำทาย

สื่อที่ใช้

- นิทาน
-บัตรคำ
-ภาพ


บูรณาการทางภาษาผ่านชีวิตประจำวัน


การสวัสดีคุณครูก่อนเข้าห้องเรียน

เซ็นชื่อ

กิจกรรมหน้าเสาธง

กิจกรรมในห้องเรียน  (ถามเด็ก)


วันจันทร์

- เรื่องเล่า  เสาร์ - อาทิตย์
 ( ได้ไปเที่ยวทะเลวันเสาร์มา)

วันอังคาร

-ของรักของหวง
( ชอบกล่องดินสอสีชมพู)

วันพุธ

-โฆษณา
( อยากกินขนมที่อยู่ในทีวีจัง)

วันพฤหัสบดี

-ประชาสัมพันธ์
( วันพรุ่งนี้ไปทัศนศึกษากันที่ท้องฟ้าจำลองนะ)

วันศุกร์

-เรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่เช้า
( เมื่อเช้าเพื่อนๆได้ออกไปร้องเพลงหน้าเสาธงด้วยละ)


























วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

นิทรรศการเตรียมความพร้อมบูรณาการปฐมวัยสู่อาเซี่ยน

 "คุณภาพศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซี่ยน"

นิทรรศ:การเตรียมความพร้อมบูรณาการปฐมวัยสู่อาเซี่ยน









                        

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

อบรมการเล่านิทาน

อบรมการเล่านิทาน










เล่านิทานกับอ่านนิทานต่างกันอย่างไร
การ เล่านิทาน ช่วยให้เด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ ได้เข้าใจเรื่องราว เป็นการขยายประสบการณ์ของเด็กเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ รอบตัวเขา และช่วยให้เด็กมีคำศัพท์และสำนวนต่าง ๆ มากขึ้น การ เล่านิทาน ยังเป็นการช่วยย่อยเรื่องยาก ๆ หรือภาษายาก ๆ ในหนังสือนิทานหลาย ๆ เล่มให้เด็กเล็ก ๆ ซึ่งยังมีความจำกัดทางด้านภาษา สามารถเข้าใจเรื่องนั้นได้ โดยการใช้คำง่าย ๆ ประโยคสั้น ๆ แทน การฟังครู เล่านิทาน จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด รวมทั้งทักษะการคิดหลาย ๆ ด้าน

การ อ่านนิทาน หมายถึง การที่คุณครูอ่านข้อความในหนังสือให้เด็กฟัง คุณครูอาจใช้เสียงดัง-เบา สูง-ต่ำ เพื่อให้เรื่องที่อ่านสนุกสนานยิ่งขึ้น แต่ที่สำคัญ คุณครูจะต้องอ่านโดยไม่เพิ่มเติมคำพูดของตัวเองเข้าไป

หาก ต้องการอธิบายเพิ่ม ก็จะพูดคุยกับเด็กด้วยน้ำเสียงที่ทำให้เด็กแยกได้ว่า เป็นการพูดคุยที่ไม่เกี่ยวกับตัวหนังสือในหนังสือที่กำลังอ่าน การฟังครู อ่านนิทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าได้เห็นตัวหนังสือ ภาพ และมองตามการชี้ตัวหนังสือที่กำลังอ่านของครูไปด้วย จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการอ่าน-เขียนของเด็ก ในเด็กเล็ก ๆ การทำเช่นนี้จะช่วยให้เด็กเกิดความตระหนักว่า ตัวหนังสือหน้าตาแปลก ๆ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่แทนเสียงที่เปล่งออกมาเป็นคำต่าง ๆ ในเด็กที่ตระหนักในเรื่องนี้ดีแล้ว จะเริ่มสังเกตว่าตัวอักษรใดหรือคำใดแทนเสียงอะไร และเริ่มจำคำเหล่านั้นได้ ซึ่งความรู้และความเข้าใจในเรื่องนี้คือพื้นฐานของการอ่านเป็นคำ และการรู้จักตัวพยัญชนะ สระ ตัวสะกดและวรรณยุกต์ เพื่อประสมคำต่อไป

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 12



วันที่  31  สิงหาคม  2555


อาจารย์ให้ออกมาร้องเพลงและเต้นประกอบท่าของกลุ่มตนเอง  แล้วสอนเพื่อนร้องเพลงพร้อมกับท่าเต้น
อาจารย์ให้ถ่ายวิดีโอไว้เป็นผลงานของเรา


อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มคิดคำขวัญเลิกเหล้า


บรรยากาศภายในห้อง

เพื่อนๆๆให้ความสนใจกับท่าเต้นของเพื่อนในห้องและเพลงที่เพื่อนเตรียมมาเป็นอย่างดี

สิ่งที่ได้จากการเรียน

ได้เรียนรู้การแต่งเพลงที่ถูกต้องและจากการแต่งคำขวัญทำให้ได้รู้จักกระบวนการคิด ผลกระทบ  ข้อดี และสื่อให้คนรับรู้ได้

สัปดาห์ที่ 12



สื่อปฏิทิน


อักษรสูง:  ง  น  ย  ร  ว  ม  ล    ณ




วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การอบรมทำดอกไม้กระดาษ








ประโยชน์จากการอบรมณ์
การที่เราจะจัดบอร์ดแต่ละครั้งส่วนใหญ่จะซื้อดอกไม่ประดิษฐ์สำเร็จรูปมาแปะบอร์ดซึ่งใช้เวลาและจำนวนเงิน  แต่การได้มาอบรมในครั้งนี้ สามารถเรียนรู้การประดิษฐ์ดอกไม้กระดาษได้ด้วยตัวเองอีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมอื่นได้อีกด้วย

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 11



วันที่ 24  สิงหาคม  2555


อาจารย์ให้ฟังเพลง เกาะสมุย  และวิเคราะว่าฟังแล้วเพลงบอกอะไรเราบ้าง


อาจารย์ให้ดูการจัดประสบการณืสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานเรื่องช้างน้อยอัลเฟรต

เรื่องย่อ อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชม
หลังจากที่ครูเล่าเรื่อง "ช้างน้อยอัลเฟรด" ให้เด็กฟังแล้ว เด็กๆ ผลัดเปลี่ยนกันออกมาเล่าเรื่องให้เพื่อนๆ ฟัง ทั้งการเล่าเรื่องจากหนังสือนิทาน และเล่าเรื่องโดยการเรียงลำดับภาพเหตุการณ์จากนิทาน กิจกรรมนี้เป็นการส่งเสริมความสามารถในการจับใจความจากการดูภาพและฟังเรื่อง ราว เด็กได้ฝึกแปลความ ตีความ คาดคะเนตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง และเก็บประเด็นสำคัญ แล้วผสมผสานสิ่งที่ฟังเป็นเรื่องราว แล้วพูดถ่ายทอดความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการอ่านอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุข
 
บรรยากาศในห้องเรียน

เพื่อนสนใจอาจารย์สอนแต่บางคนก้คุยไม่สนใจอาจารย์ ทำให้เสียบรรยากาศในการสอน

สิ่งที่ได้จากการเรียน

ได้รู้จักเกาะสมุยดีขึ้น  และ ได้เข้าใจการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น

งานที่ได้รับมมายอบห
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มแตงเพลงอะไรก็ได้  พร้อมท่าทางประกอบ   เล่านิทาน  เล่าไปวาดไป ทั้งหมดกำหนดเรื่องขึ้นมาเอง









วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 10



วันที่  19 สิงหาคม  2555 (เรียนชดเชย)


งานสัปดาห์นี้คือทำปฏิทินที่อาจารย์สั่งไว้ครั้งก่อนโดยแบ่งกลุ่มทำพยัญชนะ
อักษรสูง  อักษรกลาง  อักษรต่ำ
สระ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอะ เอ  แอะ  แอ  โอะ  โอ

กิจกรรมการเรียน

-ให้นักศึกษานำสิ่งของที่ชอบมาหนึ่งอย่างพร้อมบอกเห็ตผล 



               หูฟัง:  เพราะเป็นคนชอบฟังเพลงมากไม่ว่าจะไปที่ไหนก้ต้องพกติดกระเป๋าไปด้วยเสมอ
-ให้นักศึกษาโฆษณาสินค้าหนึ่งอย่าง 


               กระเป๋าตังค์ : กระเป๋าตังค์เก็บบัตรได้เยอะ ลอวลายสวยงาม  ออกมาใหม่ ลิมิเต็ดอิดิชั่นจ้า
-ให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้แล้วออกมาเล่าเป็นเรื่องราวหน้าชั้นเรียน

               

          

             +








 รถ+ไฟ  = รถไฟ





   -อาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้แล้วให้ออกมาเป็นแถวมาเล่าเป็นเรื่องราวให้เพื่อนๆฟัง

บรรยากาศในห้องเรียน

เพื่อนสนใจในการวาดภาพในสิ่งที่ตนสนใจมากและแอร์เย็นมาก

สิ่งที่ได้รับจากงาน

เข้าใจการใช้ภาษาไปใช้บูรณาการในการสอนกับเด็กได้

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 10



วันที่  17  สิงหาคม  2555

ไม่มีการเรียนการสอน

หมายเหตุ: เรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555  เวลา  13:00 น.



วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 9


วันที่  10  สิงหาคม  2555


วันนี้อาจารย์สั้งงานให้ทำสื่อเป็นปฎิทิน  โดยนำปฎิทินที่ไม่ใช้แล้วมาทำ  แบ่งกลุ่มกันสามคนต่อหนึ่งงาน  รายละเอียดของงานจะทราบในสัปดาห์หน้า




วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 8



วันที่ 3  สิงหาคม  2555




ไม่มีการเรียนการสอน 



  หมายเหตุ:สอบกลางภาควันที่ 1-6 สิงหาคม 2555และเนื่องจากวันเข้าพรรษา  

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 7



วันที่  27  กรกฎาคม  2555

ได้ไปเล่านิทานให้ น้องอนุบาล3 โรงเรียนโฮมเนอส์เซอรี่ ฟังโดยใช้นิทาน เล่มเล็ก
 เรื่อง แม่ครับข้าวตังขอโทษ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้จัก ทำผิดก็ต้องยอมรับผิด  ไม่โกหก ซึ่งน้องๆก็พากันตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี หลังจากนั้นได้นำเสนองานจากการสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัยจากการเล่านิทาน


















คำถามที่ถามน้องๆเพื่อสังเกตพัฒนาการทางภาษานะคะ

 คำแนะนำในการนำเสนอ

 สรุปในขณะที่น้องนั่งฟังนิทานว่าน้องมีพัฒนาการทางภาษาอย่างไร  และ ให้ถามคำถามน้องมากกว่านี้ 



บรรยากาศภายในห้อง

เพื่อนๆสนใจในการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มเป็นอย่างดี


สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอ

ได้เข้าใจการพัฒนาการของเด็ก3ขวบ-สี่ขวบได้มากขึ้นและได้เข้าใจพัฒนาการของเด็กมากขึ้น  มีประสบการณ์ในการนำเสนอหน้าชั้นเรียนมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 6


วันที่  20  กรกฎาคม  2555


อาจารย์ได้สั่งงานโดยใช้กลุ่มเดิม และเล่านิทานให้น้องฟัง 
สื่อของนิทานที่ให้ไปเล่าให้น้องฟังมีดังนี้


-นิทานเล่มเล็ก   











-นิทานBig Book  









-VCD นิทาน    











สำหรับช่วงชั้นที่จะไปเล่ามี   อนุบาล1, อนุบาล2, อนุบาล3, ประถม1
ให้แต่ละกลุ่มไปสังเกตุพฤติกรรมทางภาษาของน้องในแต่ละช่วงวัย
จดบันทึกให้ละเอียดแล้ววิเคราะห์พฤติกรรมของน้อง   เมื่อจบการเล่านิทานก็ให้ตั้งคำถามน้อง
คือตัวละคร  ทำอะไร  ที่ไหน  อย่างไร   
 เสร็จแล้วนำมาเสนอในสัปดาห์ต่อไป
***กลุ่มของข้าพเจ้าได้เล่านิทานเล่มเล็กให้อนุบาล3ฟังค่ะ

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 5





วันที่ 13 กรกฎาคม  2555

 โรงเรียนโฮมเนอส์เซอรี่

 
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนองานนำเสนองาน การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย



บรรยากาศในห้องเรียน

เพื่อนให้ความสนใจกับงานนำเสนอของกลุมข้าพเจ้าเป็นอย่างดีและให้ความสนใจงานของเพื่อนทุกๆกลุ่มเท่ากัน
 สิ่งที่ได้รับจากการทำการสังเกตพฤติกรรมเด็ก


       เด็ก ส่วนมากจะสามารถพูดเป็นประโยคยาวๆ และค่อยๆ เล่าเรื่องอย่างเป็นเรื่องเป็นราวได้ที่อายุประมาณ 4 ปี หากเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถใช้ภาษาพูดสื่อสารได้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นเตรียมความพร้อมต่อการพัฒนาทักษะด้านการอ่าน เด็กควรได้คุ้นเคยกับคำพ้องเสียง คำคล้องจอง โดยผ่านการฟังบทอาขยานสั้นๆ ง่ายๆ จากคุณพ่อคุณแม่ เพราะการฟังคำคล้องจองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้พื้นฐานของระบบเสียงที่เกี่ยว ข้องกับการอ่านได้ง่ายขึ้น ทักษะพื้นฐานอื่นๆทางภาษาที่เกี่ยวข้องกับสติปัญญา จะรวมถึงความเข้าใจเรื่องของลำดับก่อนหลัง สิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น ได้แก่ สี ขนาด จำนวน แม้สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเรียนรู้ผ่านการท่องจำได้ แต่ถ้าขาดความเข้าใจพื้นฐานสำคัญ เด็กจะเรียนรู้ต่อเนื่องด้วยตนเองได้ยากลำบาก เช่น แม้เด็กจะท่องจำสีได้หลายสี แต่เมื่อเห็นสีอื่นซึ่งไม่เคยเห็นแต่มีลักษณะใกล้เคียงกับสีเดิม (เขียวอ่อนกับเขียวแก่) เด็กที่มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก จะสามารถเชื่อมโยงและบอกได้ถูกต้องมากกว่า

เด็กวัยนี้มักมีข้อสงสัยและคำถามมากมาย คุณพ่อคุณแม่ควรตอบคำถามของลูกอย่างง่ายๆ สั้นๆ หรือหาสื่อ หาภาพมาประกอบคำอธิบาย จะกระตุ้นให้เขาใฝ่รู้และค้นคว้าเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 4



วันที่ 6  กรกฎาคม 2555


เนื่อง จากอาจารย์ติดธุระในวันนี้ อาจารย์จึงให้กลุ่มทฤษฎีและกลุ่มที่ไปสัมภาษณ์รวมกลุ่มกันแล้ว นำข้อมูลที่ได้มารวบรวม และคิดวิธีนำเสนอรูปแบบต่างๆที่น่าสนใจ ก่อนที่จะนำเสนอในอาทิตย์ต่อไป  




ทดลองการนำเสนอ

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 3


วันที่  29  มิถุนายน  2555




วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน   อาจารย์ให้ไปค้นคว้าข้อมูลเพื่อทำรายงานในหัวข้อที่ได้รับและรายงานในสัปดาห์หน้า  กลุ่มของข้าพเจ้าได้ให้ไปหาเด็ก3ขวบ(สังเกตพัฒนาการทางภาษา)




วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 2



วันที่  22  มิถุนายน  2555




  - เด็กปฐมวัย      พัฒนาการด้านสติปัญญา
                        วิธีการเรียนรู้  1.ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กระทำกับวัตถุ
                                       2.เล่นอย่างอิสระ


   - การจัดประสบการณ์             หลักการ
                                             เทคนิค
                                             กระบวนการ
                                             สื่อ/สภาพแวดล้อม
                                             การประเมินผล      
                                           1.สนทนาซักถาม
                                           2.สังเกตุ
                                           3.ผลงาน


   - ภาษา     -เนื้อหา
                  -ทักษะ

บรรยากาศในห้องเรียน

แอร์ในห้องเย็น แต่เพื่อนๆก็ฟังอาจารย์สอนได้และสามารถตอบคำถามอาจารย์ได้ 

สิ่งที่ได้จากการเรียน

 การสังเกตุและการสนทนาทำให้ได้เข้าใกล้ชิดเด็กมากยิ่งขึ้นและได้รู้จักเด็กจากผลงานนั้นๆ


*งานที่ได้รับมอบหมาย

-พัฒนาการทางภาษาของเด็กอายุ3ปี