ยินดีต้อนรับ

รหัสนักศึกษา 5411200180 เลขที่1 คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

อบรมการเล่านิทาน

อบรมการเล่านิทาน










เล่านิทานกับอ่านนิทานต่างกันอย่างไร
การ เล่านิทาน ช่วยให้เด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ ได้เข้าใจเรื่องราว เป็นการขยายประสบการณ์ของเด็กเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ รอบตัวเขา และช่วยให้เด็กมีคำศัพท์และสำนวนต่าง ๆ มากขึ้น การ เล่านิทาน ยังเป็นการช่วยย่อยเรื่องยาก ๆ หรือภาษายาก ๆ ในหนังสือนิทานหลาย ๆ เล่มให้เด็กเล็ก ๆ ซึ่งยังมีความจำกัดทางด้านภาษา สามารถเข้าใจเรื่องนั้นได้ โดยการใช้คำง่าย ๆ ประโยคสั้น ๆ แทน การฟังครู เล่านิทาน จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด รวมทั้งทักษะการคิดหลาย ๆ ด้าน

การ อ่านนิทาน หมายถึง การที่คุณครูอ่านข้อความในหนังสือให้เด็กฟัง คุณครูอาจใช้เสียงดัง-เบา สูง-ต่ำ เพื่อให้เรื่องที่อ่านสนุกสนานยิ่งขึ้น แต่ที่สำคัญ คุณครูจะต้องอ่านโดยไม่เพิ่มเติมคำพูดของตัวเองเข้าไป

หาก ต้องการอธิบายเพิ่ม ก็จะพูดคุยกับเด็กด้วยน้ำเสียงที่ทำให้เด็กแยกได้ว่า เป็นการพูดคุยที่ไม่เกี่ยวกับตัวหนังสือในหนังสือที่กำลังอ่าน การฟังครู อ่านนิทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าได้เห็นตัวหนังสือ ภาพ และมองตามการชี้ตัวหนังสือที่กำลังอ่านของครูไปด้วย จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการอ่าน-เขียนของเด็ก ในเด็กเล็ก ๆ การทำเช่นนี้จะช่วยให้เด็กเกิดความตระหนักว่า ตัวหนังสือหน้าตาแปลก ๆ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่แทนเสียงที่เปล่งออกมาเป็นคำต่าง ๆ ในเด็กที่ตระหนักในเรื่องนี้ดีแล้ว จะเริ่มสังเกตว่าตัวอักษรใดหรือคำใดแทนเสียงอะไร และเริ่มจำคำเหล่านั้นได้ ซึ่งความรู้และความเข้าใจในเรื่องนี้คือพื้นฐานของการอ่านเป็นคำ และการรู้จักตัวพยัญชนะ สระ ตัวสะกดและวรรณยุกต์ เพื่อประสมคำต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น