ยินดีต้อนรับ

รหัสนักศึกษา 5411200180 เลขที่1 คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 16


วันศุกร์ ที่ 28  กันยายน 2555


อาจารย์ให้นักศึกษาวิเคราะห์ ของแท็บเล็ตที่ให้เด็กนักเรียนชั้น ป1.ใช้นั้น มีข้อดีข้อเสียหรือมีที่ควรปรับปรุงอย่างไรบ้าง 20นาที  และได้ชี้แจงสิ่งที่นักศึกษาได้เรียนไปทั้งเทอมนี้ว่านักศึกษาได้อะไรในการสอนของอาจารย์บ้าง



จากกรณีมีผู้นำคอมพิวเตอร์พกพาหรือ แท็บเล็ต ที่รัฐบาลแจกให้นักเรียน ป.1 ทั่วประเทศ ตามโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไทย (One Tablet per Child) ไปทดสอบและสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ลามกอนาจารได้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีการระบุว่าแท็บเล็ต ป.1 ทุกเครื่องมีการบล็อกการเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมแล้ว


          ล่าสุด นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว ว่า จากการวิจัยยืนยันมาตลอดว่า เด็กจะใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต แท็บเล็ต เพื่อการเรียนรู้เพียง 20% อีก 80% จะนำไปใช้ผิดประเภทเช่น เล่มเกม ดูเว็บโป๊ ขณะที่ปัจจุบันเด็กส่วนใหญ่ จะอยู่กับอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือเฉลี่ยวันละ 5-6 ชั่วโมง ซึ่งเสี่ยงอันตรายและปูพื้นฐานเด็กหมกมุ่นใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่เหมาะสม ดังนั้นถ้าจะให้เด็กโดยเฉพาะเด็ก ป.1 นำแท็บเล็ตกลับไปบ้านอีกจะยิ่งทำให้เด็กหมกมุ่นและใช้แท็บเล็ตผิดประเภทมาก ขึ้น แทนที่เด็กกลับบ้านจะทำกิจกรรมอื่นๆที่เกิดประโยชน์ เช่น เล่นกีฬา ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวเป็นต้นส่วนที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุว่าการจะให้เด็กนำแท็บเล็ตกลับบ้านได้หรือไม่เป็นดุลยพินิจของผู้บริหาร และครูนั้นว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบถ้ามีอะไรเกิดขึ้น โดยส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วยให้เด็กนำแท็บเล็ตกลับบ้าน


          นายสมพงษ์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ในช่วง 3 เดือนที่แจกแท็บเล็ตไปแล้วจะต้องระมัดระวังเรื่องเครื่องจะมีปัญหา เสียและต้องซ่อม เพราะคุณภาพไม่ค่อยจะดี โดยศธ.ควรที่จะหาสถาบันการศึกษาในพื้นที่อย่างวิทยาลัยอาชีวศึกษา เข้ามาคอยช่วยซ่อมเครื่องให้หากมีปัญหา และหลังจากแจกแท็บเล็ตไปแล้ว 6 เดือน สิ่งที่เป็นห่วงและกังวลมาก คือจะทิ้งห้องเรียน เพื่อไปทำผลงานที่เป็นเอกสาร และปล่อยให้เด็กอยู่กับแท็บเล็ต โดนไม่มีใครคอยชี้แนะหรือชี้นำการใช้แท็บเล็ตในการเรียนรู้ สุดท้ายแท็บเล็ตจะเข้ามาแทนบทบาทของครู

          "ถ้า ศธ.ยังไม่เตรียมตัวป้องกันเรื่องเด็กนำแท็บเล็ตไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ทั้งเรื่องสื่อลามก ดูเว็บโป๊ เล่นเกม นโยบายแจกแท็บเล็ตพังไม่เป็นท่าแน่นอน ช่วง 2-3 ปี ไม่ปฏิรูปการเรียนรู้ เอาเด็กเป็นศูนย์กลางพัฒนาครูและบูรณาการเรียนการสอนเชิงนโยบายให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการศึกษาหรือไม่พยายามทำให้แท็บเล็ตเป็นเครื่องช่วยสอนอย่างที่ บอก 3 ปีจากนี้จะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์แน่นอน" นายสมพงษ์กล่าว





บรรยากาศภายในห้อง

เพื่อนทุกคนตั้งใจวิเคราะห์ งานกันอย่างตั้งใจ และ แอร์เย็นมาก

สิ่งที่ได้รับในการเรียน

ได้เข้าใจจุดประสงค์ในการทำบล็อกมากขึ้นและได้เข้าใจการวิเคราะห์เนื้อหาต่างโดยเทคนิคต่างๆมากขึ้น


วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย

พัฒนาการมีความเปลี่ยนแปลงไปทางด้านปริมาณและคุณภาพ
ได้รับอิทธิพลจากสิ่งสำคัญ คือ
1.องค์ประกอบของพัฒนาการ วุฒิภาวะ การเรียนรู้
2.แบบแผนของพัฒนาการ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ การเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพ
ความสัมพันธ์ของพัฒนาการแต่ละด้าน ลักษณะเด่นของพัฒนาการ
ความคาดหวังของพัฒนาการ ความเสื่อมของพัฒนาการ
3.ลักษณะของพัฒนาการ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา
4.อัตราของพัฒนาการ ความแตกต่างภายในและระหว่างบุคคล

วามสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม
1.ทำให้ทราบลักษณะการเปลี่ยนแปลง
และสามารถประเมินพัฒนาการของเด็กที่เกิดขึ้นในแต่ละวัย
2.ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติ
ของเด็กได้อย่างถูกต้อง
3.ทำให้ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
ตามศักยภาพส่วนบุคคล
4.ทำให้สามารถจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ได้สอดคล้องกับระดับความสามารถ
5.ทำให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาพฤติกรรมของเด็ก
และแนวทางการแก้ไขปัญหา

พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของภาษา
1.ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตที่ต้องติดต่อสร้าง
ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ตนดำรงอยู่
2.ภาษาเป็นกิจกรรมสำคัญในการจัดการเรียนการสอนทั้งในและ
นอกระบบโรงเรียน
3.ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์สามารถแลกเปลี่ยนความรู้
ความคิด เรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อ
4.ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่แต่ละเผ่าชน ชนชาติ
แสดงออกให้เห็น

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 15


วันที่  21 กันยายน  2555
วันนี้อาจารย์ได้ตรวจความเรียบร้อย
และสรุปการเรียนรู้





ความสำคัญของการคิด
ความสำคัญของการคิด ดิวอี้ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการคิดว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเพราะการคิดช่วยให้คนได้ มองเห็นภาพปัญหาต่าง ๆ ในอนาคตซึ่งจะช่วยให้บุคคลได้คิดหาแนวทางในการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้และ การคิดช่วยขยายความหมายของสิ่งต่างๆ ในโลกได้ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการคิดคือ คนจะมีการปฏิบัติหรือการกระทำตามที่เขาคิดถึงแม้ว่ามันจะถูกหรือผิดก็ตาม เนื่องจากการคิดมีพลังอำนาจ จึงต้องการการควบคุมโดยได้แนะนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการช่วยรักษาความคิด ให้เป็นไปอย่างถูกต้องโดยมีการควบคุมเงื่อนไขภายใต้การสังเกต และการสรุปความคิดตามสิ่งที่เกิดขึ้นและได้มีการทบทวนแนวคิดโดยกล่าวว่า สิ่งที่บุคคลรู้จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดครั้งแรกแล้วจึงนำ ไปสู่การคิดในสิ่งอื่นๆซึ่งก่อให้เกิดความสมบูรณ์ของกระบวนการคิดนั้น เนื่องจากการคิดมีอิทธิพลอย่างมากจากกิเลสที่อยู่ภายในตัวบุคคล และสังคม

บรรยากาศในห้อง

เพื่อนมาเรียนน้อยเนื่องจากฝนตก

สิ่งที่ได้รับจากการเรียน

ได้เข้าใจในการทำงนของตัวเองมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 14


 อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มที่ออกมาร้องเพลงยังไม่ครบให้ออกมาร้องโดยเริ่มจาก


กลุ่มที่1 เพลง แปรงฟันกันเถอะ

กลุ่มที่2 เพลงเชิญมาเล่น

กลุ่มที่3 เพลงท้องฟ้าแสนงาม

กลุ่มที่4 เพลง เดิน เดิน เดิน

กลุ่มที่5 เพลงเด็กจอมพลั5

กลุ่มของข้าพเจ้าได้เพลง เดิน  เดิน  เดิน

การเล่านิทานเทคนิคต่างๆ




 เล่าไปฉีกไป

-เรื่องช้างมีน้ำใจ
  
-เจ้าแกะกับดวงอาทิตย์

-กบน้อยแสนซน


เล่าไปวาดไป


-ดาวเคราะห์ของคุณยาย

-ครอบครัวเศรฐกิจพอเพียง

-ตุ้งแช่จอมซน

-ความสุขของคุณยาย

-พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง


เล่าไปพับไป


-เจ้าแสนซน

-ต้นไม้ของเรา

-น้องมดอยากไปเที่ยวทะเล

-แพวิเศษ

-ยักษ์สองตน


เล่าไปตัดไป


-วันหยุดของน้องเบส

-พระจันทร์ไม่มีเพื่อน


เล่าโดยใช้เชื่อก


-กระต่ายน้อยเพื่อนเกลอ

-โจรใจร้าย

-เจ้างูน้อยกับเถาวัลย์




กลุ่มของดิฉันได้ เล่าไป วาดไป เรื่องดาวเคราะห์ของคุณยาย







ดาวเคราะห์ของคุณยาย

บรรยากาศในห้องเรียน

เพื่อนตั้งใจฟังเพลงที่เพื่อนร้องและอาจารย์ได้อัดVDOเก็บไว้ทำให้เพื่อนเงียบตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอ

สิ่งที่ได้รับจากการเรียน

ได้พัฒนาตนเองในการนำเสนองานหน้าชั้นและพัฒนาการเทคนิคการเล่านิทานมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 13

วันที่  7  กันยายน  2555


อาจารย์แจกแผ่นเขียนอักษรกับสีไม้







อาจารย์ได้สรุปการเรียน  จากการสัมภาษและวิเคราะห์ทางภาษาของเด็ก
สื่อที่ส่งเสริมทางภาษาสำหรับเด็กได้แก่


-นิทาน
-เพลง
-คำคร้องจอง
-ปริศนาคำทาย

สื่อที่ใช้

- นิทาน
-บัตรคำ
-ภาพ


บูรณาการทางภาษาผ่านชีวิตประจำวัน


การสวัสดีคุณครูก่อนเข้าห้องเรียน

เซ็นชื่อ

กิจกรรมหน้าเสาธง

กิจกรรมในห้องเรียน  (ถามเด็ก)


วันจันทร์

- เรื่องเล่า  เสาร์ - อาทิตย์
 ( ได้ไปเที่ยวทะเลวันเสาร์มา)

วันอังคาร

-ของรักของหวง
( ชอบกล่องดินสอสีชมพู)

วันพุธ

-โฆษณา
( อยากกินขนมที่อยู่ในทีวีจัง)

วันพฤหัสบดี

-ประชาสัมพันธ์
( วันพรุ่งนี้ไปทัศนศึกษากันที่ท้องฟ้าจำลองนะ)

วันศุกร์

-เรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่เช้า
( เมื่อเช้าเพื่อนๆได้ออกไปร้องเพลงหน้าเสาธงด้วยละ)


























วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

นิทรรศการเตรียมความพร้อมบูรณาการปฐมวัยสู่อาเซี่ยน

 "คุณภาพศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซี่ยน"

นิทรรศ:การเตรียมความพร้อมบูรณาการปฐมวัยสู่อาเซี่ยน









                        

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

อบรมการเล่านิทาน

อบรมการเล่านิทาน










เล่านิทานกับอ่านนิทานต่างกันอย่างไร
การ เล่านิทาน ช่วยให้เด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ ได้เข้าใจเรื่องราว เป็นการขยายประสบการณ์ของเด็กเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ รอบตัวเขา และช่วยให้เด็กมีคำศัพท์และสำนวนต่าง ๆ มากขึ้น การ เล่านิทาน ยังเป็นการช่วยย่อยเรื่องยาก ๆ หรือภาษายาก ๆ ในหนังสือนิทานหลาย ๆ เล่มให้เด็กเล็ก ๆ ซึ่งยังมีความจำกัดทางด้านภาษา สามารถเข้าใจเรื่องนั้นได้ โดยการใช้คำง่าย ๆ ประโยคสั้น ๆ แทน การฟังครู เล่านิทาน จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด รวมทั้งทักษะการคิดหลาย ๆ ด้าน

การ อ่านนิทาน หมายถึง การที่คุณครูอ่านข้อความในหนังสือให้เด็กฟัง คุณครูอาจใช้เสียงดัง-เบา สูง-ต่ำ เพื่อให้เรื่องที่อ่านสนุกสนานยิ่งขึ้น แต่ที่สำคัญ คุณครูจะต้องอ่านโดยไม่เพิ่มเติมคำพูดของตัวเองเข้าไป

หาก ต้องการอธิบายเพิ่ม ก็จะพูดคุยกับเด็กด้วยน้ำเสียงที่ทำให้เด็กแยกได้ว่า เป็นการพูดคุยที่ไม่เกี่ยวกับตัวหนังสือในหนังสือที่กำลังอ่าน การฟังครู อ่านนิทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าได้เห็นตัวหนังสือ ภาพ และมองตามการชี้ตัวหนังสือที่กำลังอ่านของครูไปด้วย จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการอ่าน-เขียนของเด็ก ในเด็กเล็ก ๆ การทำเช่นนี้จะช่วยให้เด็กเกิดความตระหนักว่า ตัวหนังสือหน้าตาแปลก ๆ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่แทนเสียงที่เปล่งออกมาเป็นคำต่าง ๆ ในเด็กที่ตระหนักในเรื่องนี้ดีแล้ว จะเริ่มสังเกตว่าตัวอักษรใดหรือคำใดแทนเสียงอะไร และเริ่มจำคำเหล่านั้นได้ ซึ่งความรู้และความเข้าใจในเรื่องนี้คือพื้นฐานของการอ่านเป็นคำ และการรู้จักตัวพยัญชนะ สระ ตัวสะกดและวรรณยุกต์ เพื่อประสมคำต่อไป