ยินดีต้อนรับ

รหัสนักศึกษา 5411200180 เลขที่1 คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 7



วันที่  27  กรกฎาคม  2555

ได้ไปเล่านิทานให้ น้องอนุบาล3 โรงเรียนโฮมเนอส์เซอรี่ ฟังโดยใช้นิทาน เล่มเล็ก
 เรื่อง แม่ครับข้าวตังขอโทษ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้จัก ทำผิดก็ต้องยอมรับผิด  ไม่โกหก ซึ่งน้องๆก็พากันตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี หลังจากนั้นได้นำเสนองานจากการสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัยจากการเล่านิทาน


















คำถามที่ถามน้องๆเพื่อสังเกตพัฒนาการทางภาษานะคะ

 คำแนะนำในการนำเสนอ

 สรุปในขณะที่น้องนั่งฟังนิทานว่าน้องมีพัฒนาการทางภาษาอย่างไร  และ ให้ถามคำถามน้องมากกว่านี้ 



บรรยากาศภายในห้อง

เพื่อนๆสนใจในการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มเป็นอย่างดี


สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอ

ได้เข้าใจการพัฒนาการของเด็ก3ขวบ-สี่ขวบได้มากขึ้นและได้เข้าใจพัฒนาการของเด็กมากขึ้น  มีประสบการณ์ในการนำเสนอหน้าชั้นเรียนมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 6


วันที่  20  กรกฎาคม  2555


อาจารย์ได้สั่งงานโดยใช้กลุ่มเดิม และเล่านิทานให้น้องฟัง 
สื่อของนิทานที่ให้ไปเล่าให้น้องฟังมีดังนี้


-นิทานเล่มเล็ก   











-นิทานBig Book  









-VCD นิทาน    











สำหรับช่วงชั้นที่จะไปเล่ามี   อนุบาล1, อนุบาล2, อนุบาล3, ประถม1
ให้แต่ละกลุ่มไปสังเกตุพฤติกรรมทางภาษาของน้องในแต่ละช่วงวัย
จดบันทึกให้ละเอียดแล้ววิเคราะห์พฤติกรรมของน้อง   เมื่อจบการเล่านิทานก็ให้ตั้งคำถามน้อง
คือตัวละคร  ทำอะไร  ที่ไหน  อย่างไร   
 เสร็จแล้วนำมาเสนอในสัปดาห์ต่อไป
***กลุ่มของข้าพเจ้าได้เล่านิทานเล่มเล็กให้อนุบาล3ฟังค่ะ

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 5





วันที่ 13 กรกฎาคม  2555

 โรงเรียนโฮมเนอส์เซอรี่

 
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนองานนำเสนองาน การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย



บรรยากาศในห้องเรียน

เพื่อนให้ความสนใจกับงานนำเสนอของกลุมข้าพเจ้าเป็นอย่างดีและให้ความสนใจงานของเพื่อนทุกๆกลุ่มเท่ากัน
 สิ่งที่ได้รับจากการทำการสังเกตพฤติกรรมเด็ก


       เด็ก ส่วนมากจะสามารถพูดเป็นประโยคยาวๆ และค่อยๆ เล่าเรื่องอย่างเป็นเรื่องเป็นราวได้ที่อายุประมาณ 4 ปี หากเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถใช้ภาษาพูดสื่อสารได้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นเตรียมความพร้อมต่อการพัฒนาทักษะด้านการอ่าน เด็กควรได้คุ้นเคยกับคำพ้องเสียง คำคล้องจอง โดยผ่านการฟังบทอาขยานสั้นๆ ง่ายๆ จากคุณพ่อคุณแม่ เพราะการฟังคำคล้องจองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้พื้นฐานของระบบเสียงที่เกี่ยว ข้องกับการอ่านได้ง่ายขึ้น ทักษะพื้นฐานอื่นๆทางภาษาที่เกี่ยวข้องกับสติปัญญา จะรวมถึงความเข้าใจเรื่องของลำดับก่อนหลัง สิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น ได้แก่ สี ขนาด จำนวน แม้สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเรียนรู้ผ่านการท่องจำได้ แต่ถ้าขาดความเข้าใจพื้นฐานสำคัญ เด็กจะเรียนรู้ต่อเนื่องด้วยตนเองได้ยากลำบาก เช่น แม้เด็กจะท่องจำสีได้หลายสี แต่เมื่อเห็นสีอื่นซึ่งไม่เคยเห็นแต่มีลักษณะใกล้เคียงกับสีเดิม (เขียวอ่อนกับเขียวแก่) เด็กที่มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก จะสามารถเชื่อมโยงและบอกได้ถูกต้องมากกว่า

เด็กวัยนี้มักมีข้อสงสัยและคำถามมากมาย คุณพ่อคุณแม่ควรตอบคำถามของลูกอย่างง่ายๆ สั้นๆ หรือหาสื่อ หาภาพมาประกอบคำอธิบาย จะกระตุ้นให้เขาใฝ่รู้และค้นคว้าเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 4



วันที่ 6  กรกฎาคม 2555


เนื่อง จากอาจารย์ติดธุระในวันนี้ อาจารย์จึงให้กลุ่มทฤษฎีและกลุ่มที่ไปสัมภาษณ์รวมกลุ่มกันแล้ว นำข้อมูลที่ได้มารวบรวม และคิดวิธีนำเสนอรูปแบบต่างๆที่น่าสนใจ ก่อนที่จะนำเสนอในอาทิตย์ต่อไป  




ทดลองการนำเสนอ